รัฐบาลเตือนมี กฎหมายควบคุมใช้กัญชา แม้ พ.ร.บ.กัญชายังไม่มีผล

รัฐบาลเตือนมี กฎหมายควบคุมใช้กัญชา แม้ พ.ร.บ.กัญชายังไม่มีผล

รัฐบาลเตือน กฎหมายควบคุมใช้กัญชา ยังมี แม้ พ.ร.บ.กัญชา จะถูกถอนออกวาระประชุม ฝ่าฝืนระวังถูกปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ถอน ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. ออกจากวาระประชุมโดยให้มีการทบทวนร่างกฎหมายใหม่อีกครั้ง ทำให้เกิดกระแสความกังวลว่า จะไม่มีกฎหมายควบคุมกัญชาและกัญชงนั้น

รัฐบาลขอยืนยันว่าปัจจุบันมีกฎหมายที่ควบคุมการใช้กัญชา กัญชงให้เหมาะสมอย่างรอบด้าน  

โดยนับแต่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมกัญชาทางการแพทย์ โดยปลดล็อกให้ทุกส่วนของกัญชาและกัญชงออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ยกเว้นแต่เพียงสารสกัดจากกัญชาและกัญชงที่มีสาร THC เกินกว่า 0.2% ที่ยังถือเป็นยาเสพติด มีผลมาตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 65 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อควบคุมให้เกิดการใช้ให้เป็นไปตามนโยบาย ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อเศรษฐกิจ ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ

กฎหมายที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาแล้ว ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ.2565 มีผลบังคับมาตั้งแต่วันที่  15 มิ.ย. 65  ควบคุมไม่ให้มีการ สูบ เสพในที่สาธารณะทุกประเภท หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) ที่มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย.65 มุ่งกำกับให้มีการใช้กัญชาในฐานะพืชสมุนไพรควบคุมให้เป็นไปอย่างเหมาะสม จำกัดการครอบครองช่อดอกกัญชาทั้งระดับบุคคลและวิสาหกิจชุมชน มีการห้ามจำหน่ายกัญชาให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี, สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร หากฝ่าฝืนก็ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ทางด้านการควบคุมการนำกัญชาไปประกอบอาหาร มีประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้สถานประกอบกิจการต้องควบคุม กำกับ และจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ

ทางด้านผู้ประกอบการที่จะนำกัญชา กัญชงไปใช้ในกระบวนการผลิตเป็นสินค้า ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เวชภัณฑ์ หรือเครื่องสำอาง ก็ต้องมีการขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ

“แม้ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง ยังคงต้องอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา กฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ก็จะควบคุมการใช้กัญชา กัญชง ไปจนกว่าพระราชบัญญัติฉบับสมบูรณ์จะออกมาบังคับใช้ หรือหากมีกรณีใดที่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายมารองรับก็มี คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพืชกัญชาและกัญชง ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เป็นประธาน สามารถพิจารณาออกประกาศหลักเกณฑ์ต่างๆ มาดูแลเพื่อให้เกิดความเหมาะสมเพิ่มเติมได้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

ประวิตร’ วิดีโอคอล ‘น้องบาส’ พร้อมให้เงินซื้อมือถือใหม่

ประวิตร วิดีโอคอลตรงกับ น้องบาส หนุ่มช่วยเหลือเด็กถูกไฟช็อต จ.อุดรธานี ขอบคุณพร้อมมอบเงินให้ไปซื้อมือถือเครื่องใหม่ จากกรณีที่ น้องบาส หรือ อรรถชัย อาจอุดม นักศึกษาชั้น ปวส.2 แผนกคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ได้ช่วยเหลือนักเรียนถูกไฟช็อต 4 คน บริเวณเสาไฟส่องสว่างประตูหลังโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ถนนศรีชมชื่น เขตเทศบาลนครอุดรธานี จนทำให้ทุกคนรอดชีวิต ในขณะที่ตนเองได้รับบาดเจ็บไปด้วยนั้น

ล่าสุด นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.อุดรธานี ในฐานะของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตีได้เดินทางมอบกระเช้าให้กับเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ และได้ถามไถ่อาการ เบื้องต้นทั้ง 4 อาการแข็งแรงดี และสุขภาพจิตดีขึ้น ไม่น่ากังวล

ก่อนที่นายสยามจะเดินทางไปพบ น้องบาส โดย พล.อ.ประวิตร ได้วิดีโอคอลพูดคุยกับฮีโร่คนดังกล่าวที่ช่วยเหลือให้เด็กถูกไฟช็อตอุดรธานีรอดชีวิตมาได้ “ในฐานะตัวแทนประชาชนชาวไทย ขอขอบคุณบาส ที่ได้ช่วยชีวิตไว้ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ขอให้หายไวๆ กลับบ้านไปเรียนหนังสือ ขอให้โชคดี” พล.อ.ประวิตร กล่าว

นอกจากนี้ยัง พล.อ.ประวิตร ยังได้มอบเงินเพื่อเป็นค่าโทรศัพท์มือถือให้กับน้องบาสเพื่อเป็นการขอบคุณอีกด้วย ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเย็นวันที่ 17 ได้เกิดเหตุน้ำท่วม ไฟฟ้ารั่วและทำให้เกิดไฟช็อตนักเรียน 4 คน เคราะห์ดีที่ น้องบาส ที่ขณะนั้นกำลังรับจ๊อบขับไรเดอร์ขับผ่านมาพอดี จึงลงไปช่วยเหลือจนตนเองถูกไฟช็อคไปด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการปัญหาโลกร้อน รัฐบาลไทยพร้อมดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อน ทั้งการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งค่าเป้าหมายขั้นต่ำในการลดก๊าซเรือนกระจกไว้ที่ร้อยละ 20 และขั้นสูงไว้ที่ร้อยละ 25 จากกรณีปกติภายในปี ค.ศ. 2030 โดยไทยยึดมั่นที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหานี้ตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส รวมทั้งได้บูรณาการประเด็นดังกล่าวในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม